Home

Intellectual Humor Collection 10-03-10

มีนาคม 9, 2010

“When you’re fighting with the cyclops, don’t fear using “eye for an eye” principle. Remember he has only one eye.”

“Why Thai people are so good at turnings blind eyes on the world? The answers is simple. It is because they have an ultimate literal example. How can any example be better since no one even recognize that the eyes watching over them are a blind ones… well, actually one.”

“นึกๆ ดูถึงเหตุการณ์ที่ผ่านๆ มา มันจะไม่ให้เมืองไทยติดอันดับโลกเรื่องของปลอมได้ยังไงล่ะครับ ทหารยิงคนยังอ้างว่าใช้กระสุนปลอมเลย”

“จง ปิดหูปิดตากันอย่างพอเดียง จงดักฟังกันอย่างพอเพียง จงประท้วงกันอย่างพอเพียง จงใช้เก้าอี้กันอย่างพอเพียง จงใช้กระสุนปืนกันอย่างพอเพียง จงเอารถถังมาวิ่นกันอย่างพอเพียง จงใช้สันติวิธีกันอย่างพอเพียง จงเป็นกระฎุมพีกันอย่างพอเพียง … ทุนนิยมจงเจริญ”

“แม้ว่า Richard Marx จะนามสกุล Marx เหมือนปู่ Karl Marx แต่เขาเป็นฝ่ายขวาแน่ๆ เพราะ เขาร้องเพลงว่า ฉันจะเป็นฝ่ายขวารอเธออยู่ตรงนี้ (I’ll be right here waiting for you.)”

“Buddha is Dead”

กุมภาพันธ์ 24, 2010

“พระพุทธเจ้าตายแล้ว” นิตเช่ไม่ได้กล่าวไว้

“พระ พุทธเจ้าตายแล้ว” พระสงฆ์แจ้งข่าวกันเรื่องมรณกรรมของพระพุทธเจ้า

“พระพุทธ เจ้าตายแล้ว” เคนชิโร่ต่อยพระพุทธเจ้า

“พระพุทธเจ้า ตายแล้ว” สีการ้องด้วยความตกใจเมื่อเห็นพระพุทธเจ้า

“พระพุทธเจ้าตาย แล้ว…” ผู้ไม่ศรัทธาในพระพุทธเจ้ากล่าว

Anthropologists & Cannihmoiism

มกราคม 18, 2010

เมื่อทีมวิจัยทางมานุษยวิทยาหลากหลายสาขาถูกส่งไปสำรวจชุมชนที่มีวัฒนธรรมการกินหมอย พวกเขามีทรรศนะที่ต่างกันเกี่ยวกับการกินหมอยดังนี้

“การกินหมอยนี่มันเป็นช่วงหนึ่งของวิวัฒนาการของสังคมทั้งนั้นถ้าสังคมวิวัฒน์ไปกว่านี้พวกเขาก็คงเลิกกินหมอย” นักมานุษยวิทยาจากศตวรรษที่ 19 (มาได้ไงวะ)

“พวกเขาต้องรับการกินหมอยมาจากวัฒนธรรมอื่นแน่ๆ” นักมานุษยวิทยาที่เชื่อในทฤษฎีการกระจายตัวทางวัฒนธรรม (อืม ยังพอมีอยู่)

“หมอยเป็นสัญลักษณ์ที่อัดแน่นไปด้วยความหมายของชุมชนนี้ เราต้องตีความพิธีกรรมกินหมอยเพื่อไขไปสู่ความเข้าใจโลกทางวัฒนธรรมของชุมชนนี้” นักมานุษยวิทยาสัญลักษณ์

“อืม อะไรคือคู่ตรงข้ามของหมอย?” นักมานุษยวิทยาแนวโครงสร้างนิยม

“ชุมชนนี้อาจจะไม่ได้กินหมอยมาแต่เดิมก็ได้ ไอ้การกินหมอยมันต้องเกี่ยวอะไรกับการขยายตัวของทุนนิยมโลกแน่ๆ” นักมานุษยวิทยาแนวเศรษฐศาสตร์การเมือง

“ไอ้การผลิตหมอยและกินหมอยนี่มันเป็นวิธีการผลิตแบบหนึ่งแน่ๆ ปัญหาคือมันเชิ่มต่อกับวิถีการผลิตแบบทุนนิยมอย่างไร?” นักมานุษยวิทยาเศรษฐกิจที่ได้รับอิทธิพลจากมาร์กซิสต์เชิงโครงสร้าง

“การกินหมอยมันต้องเกี่ยวข้องกับการรักษาโรคบางอย่างในคติของชาวบ้านแน่ๆ” นักมานุษยวิทยาการแพทย์ (แบบเก่า)

“ดูสิพวกเขาต้องมากินหมอย มันต้องเป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้างที่พวกเขาโดนกระทำแน่ๆ เลย” นักมานุษยวิทยาการแพทย์ (แบบใหม่)

“พวกเขาต้องมีคำเรียกหมอยที่มากมายเหมือนที่เอสกิโมมีคำเรียกหิมะมากมายแน่ๆ” นักมานุษยวิทยาภาษา (แบบเก่า)

“เราต้องดูสิว่าในสถานการณ์การพูดจริงๆ เขาพูดถึงหมอยอย่างไรยังไงบ้าง จะมาดูแต่คำในภาษาไม่ได้” นักมานุษยวิทยาภาษา (แบบใหม่)

“เราต้องมองหมอยจากมุมมองของผู้หญิงด้วยสิ” นักมาุนุษยวิทยาแนวสตรีนิยม

“เราไม่สามารกจะสร้างภาพตัวแทนการกินหมอยของพวกเขาและถือว่าเป็น ‘ความจริง’ นะ” นักมานุษยวิทยาในกระแส Writing Culture

“เราจะสร้างโครงสร้างของการกินหมอยเฉยๆ ไม่ได้นะ เราต้องเห็นความเป็นผู้กระทำการของคนกินหมอยที่อาจไม่สอดคล้องกับโครงสร้างด้วย” นักมานุษยวิทยาแนวทฤษฎีการปฏิบัติ

“เวลาพวกเขาไปอยู่ที่อื่นพวกเขายังกินหมอยมั้ย?” นักมานุษยวิทยาที่ศึกษาคนพลัดถิ่น

“ในการศึกษาการกินหมอยเราไม่ควรจะให้ความสำคัญแต่สิ่งที่เห็นไม่ได้ ต้องพูดถึงผัสสะอื่นๆ เช่น รส, กลิ่น ด้วย” นักมานุษยวิทยาผัสสะ

“การกินหมอยเป็นการต่อต้านแน่ๆ แต่จะต่อต้านอย่างไรเราต้องมองจากมุมมองเขานะ” นักมานุษยวิทยาในกระแสการศึกษาการต่อต้าน

“เราต้องเข้าใจหมอยในฐานะของวัตถุที่มีความเป็นผู้กระทำการ เราต้องเข้าใจว่าคนกับหมอยแยกกันไม่ได้ คนไม่ได้มีหมอยอย่างเดียว หมอยมีคนด้วย ทั้งคู่เป็นผลผลิตของกันและกัน” นักมานุษยวิทยาแนววัฒนธรรมเชิงวัตถุ

“เราต้องไม่ตีความปฏิบัติการณ์ของการกินหมอยภายใต้โครงสร้างๆ เดียว เราต้องมองผู้กินหมอยในฐานะของพื้นที่ที่หลายๆ โครงสร้างตัดข้ามกัน ผู้กินหมอยอาจจะเป็นอนุรักษ์นิยม เป็นพวกถึงรากถึงโคน หรือเป็นอย่างอื่นๆ พร้อมๆ กันก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่ามองเขาบนโครงสร้างแบบใด พูดอีกแบบคือ บริบทของการกินหมอยครั้งหนึ่งๆ นี่สามารถมองได้หลายอย่าง การกินหมอยอาจเป็นการอนุรักษ์นิยมในบริบทของความเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นไปพร้อมๆ กับการที่มันเป็นวัฒนธรรมแบบถึงรากถึงโคนในบริบทของโลกก็ได้ ในขณะเดียวกันมันก็อาจจะประเมินค่าทางการเมืองยากถ้าเราจะพิจารณาการกินหมอยในโครงสร้างของสุนทรียศาสตร์การกินหมอยเอง นอกจากที่เราควรจะพิจารณาการกินหมอยบนโครงสร้างหลายๆ ชุดแล้ว เราจึงควรจะพิจารณาการกินหมอยในฐานะที่มันมีพลวัตรด้วย ไม่งั้นเราจะไม่เข้าใจวัฒนธรรมย่อยการกินขนตูดของพวกวัยรุ่นไปจนถึงไม่สามารถมองเห็นความเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้างที่อาจถูกสะท้อนออกมาจากปฏิบัติการการกินหมอยไม่ว่ามันจะเปลี่ยนหรือหยุดนิ่ง” นักมานุษยวิทยาแบบผู้เขียน (แซวตัวเองซะงั้น)

The Only Good One… is A Dead One

มกราคม 18, 2010

Soren Kierkegaard “เพื่อนบ้านที่ดีคือเพื่อนบ้านที่ตายแล้ว”

Karl Marx “นายทุนที่ดีคือนายทุนที่ตายแล้ว”

Friedrich Nietzsche “พระเจ้าที่ดีคือพระเจ้าที่ตายแล้ว”

Sigmund Freud “จิตสำนึกที่ดีคือจิตสำนึกที่ตายแล้ว”

Roland Barthes “ประพันธกรที่ดีคือประัพันธกรที่ตายแล้ว”

Jacques Derrida “โครงสร้างที่ดีคือโครงสร้างที่ตายแล้ว”

Louis Al…thusser “เมียที่ดีคือเมียที่ตายแล้ว”

Michel Foucault “อำนาจที่ดีคืออำนาจที่ตายแล้ว”

พวก Necrophilic “คู่นอนที่ดีคือคู่นอนที่ตายแล้ว”

พวก Misanthropic “มนุษย์ที่ดีคือมนุษย์ที่ตายแล้ว”

พวก Conservative “วัฒนธรรมที่ดีคือวัฒนธรรมที่ตายแล้ว”

พวกนักปฏิวัติ “รัฐที่ดีคือรัฐที่ตายแล้ว”

… ผู้เขียน “หยุดเขียนไปกินข้าวดีกว่ากูหิวจะตายอยู่แล้ว”

Notes on My Framework

ธันวาคม 5, 2009

ช่วงหลังๆ มานี้ผมพยายามจะทำความเข้าใจและหาตำแหน่งแห่งที่ของสิ่งที่ผมคิดและทำมาตลอดชีวิตในฐานะของกรอบการมองโลกและกรอบในการทำงานวิจัยทางสังคมศาสตร์

สิ่งที่ผมพบคือ ผมมีมุมมองที่ประหลาดมากๆ ซึ่งไม่สามารถจะเข้าใจได้ในกรอบความคิดโดยทั่วๆ ไป

ประการแรก ผมมองว่า “ความขัดแย้ง” เป็นพื้นฐานของประสบการณ์ของมนุษย์ ดังนั้นผมจึงปฏิเสธ Model ในแบบ Functionalism (Durkheim, Structural Functionalism ในมานุษยวิทยา ฯลฯ) ทั้งหมดที่มองสังคมเป็นองคาพยพที่ส่วนต่างๆ ของสังคมทำงานร่วมกันแบบอวัยวะในร่างกาย เนื่องจากกรอบแบบนี้มองไม่เห็นความขัดแย้ง ผมไม่เคยมองสังคมและวัฒนธรรมในฐานะสิ่งที่เป็นอันหนึ่งอันเดียว เพราะ นั่นขัดกับประสบการณ์ชีวิตของผม ที่ถูกปฏิเสธจากสังคมชนชั้นกลาง และต้องต่อสู้ในชีวิตประจำวันตลอดเวลา ครั้นรวมตัวกับเพื่อนๆ เพื่อสร้างวัฒนธรรมเฉพาะมาได้ ก็โดนประนามว่าไม่ใช่วัฒนธรรมอีก (ดังนั้นสำหรับผมนักวิชาการทุกคนที่สร้างความชอบธรรมให้วัฒนธรรมที่ใหญ่กว่ามาตัดสินวัฒนธรรมย่อย จึงเป็น Conservatism ทั้งสิ้น และนี่เป็นสิ่งที่ทำให้ผม Piss off กับนักมานุษยวิทยาที่ถือ Cultural Relativism มาก เพราะ Relativism ของพวกนี้ยังไปไกลไม่พอ)

ประการที่สอง ไอ้ “ความขัดแย้ง” ของผมนี่มันไม่ใช่ความขัดแย้งที่มีัฐานมากจากสิ่งใดปัจจุยหนึ่งที่นักทฤษฎีทั่วๆ ไปนิยมจะมอง เช่น เรื่องชนชั้น (Marxism), เพศ (Feminism), เชื้อชาติ ฯลฯ ผมมองว่าความความขัดแย้งมีหลายระนาบ แต่ละระนาบมีความเป็นเอกเทศต่อกัน เราไม่สามารถลดทอนความขัดแย้งใดความขัดแย้งหนึ่งให้เป็นศูนย์กลางของความขัดแย้งได้

ประการที่สาม ผมไม่ได้มองว่า “ความขัดแย้ง” มันฟุ้งกระจายไปทั่วและไม่มีศูนย์กลางโดยสิ้นเชิง อย่างที่พวก Post-ทั้งหลายแหล่จะมอง ผมมองว่ามุมมองแบบนี้อันตรายโคตรๆ และสุดท้ายมันจะกลับมาสนับสนุนโครงสร้างที่ทำรงอยู่ คือ ถ้าคุณบอกว่าทำอาจมันกระจายไปทั่วและการต่อต้านก็มีอยู่ทั่ว สุดท้ายคุณก็แค่ Transform คอนเซ็ปต์เรื่องสังคมและวัฒนธรรมในแบบดั้งเดิม และพูดมันใหม่ผ่านกรอบของอำนาจเท่านั้น (นี่คือความเข้าใจของผมว่าทำไมคนถึงมองพวกนี้ว่าเป็น Functionalism แบบหนึ่ง) ถ้าคุณพูดถึง “การต่อต้าน” และไม่พูดถึงความเป็นไปได้ของ “การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้าง” สุดท้ายคุณกำลังพูดถึงการต่อต้านในฐานะของส่วนหนึ่งของการทำงานของระบบทั้งหมด

จุดยืนของผมคือ เราต้องเข้าใจมนุษย์ในฐานะของสิ่งที่โครงสร้างหลายๆ โครงสร้างตัดข้าม ซึ่งมนุษย์ก็มีความเป็นไปได้ที่จะขัดแย้งกับโครงสร้างเหล่านั้น การวิเคราะห์มนุษย์ต้องทำผ่านมิติทางประสบการณ์ที่เฉพาะ เราต้องเข้าใจว่ามิติทางประสบการณ์นั้นๆ มีโครงสร้างแบบใดตัดข้ามบ้าง และเราก็ต้องเข้าใจมิติทางประสบการณ์นั้นๆ ในฐานะที่มันมีโครงสร้างของตัวมันเองด้วย

เมื่อพูดถึงการต่อต้านหรือการต่อสู้ ความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างแต่ละโครงสร้างจะต้องถูกพูดถึงด้วย การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างเกิดขึ้นได้ในระดับที่ต่างๆ กันในแต่ละโครงสร้าง และการศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนี้ต้องรวมไปถึง การสร้างโครงสร้างใหม่ขึ้นมาแทนโครงสร้างเดิมด้วย (นี่คือความหมายที่ว่าทำไม Punk Rock Movement ในยุคแรกถึงเป็นการปฏิวัติ)